สวัสดีค่ะ Santa นะคะ
ข้อสอบโทอิคที่เป็นข้อสอบวัดระดับทักษะการสื่อสารนานาชาติแบ่งออกเป็น 7 พาร์ท โดยพาร์ท 1 ถึงพาร์ท 4 เป็นการวัดความสามารถการฟังหรือที่เรียกว่า LC และพาร์ท 5 ถึงพาร์ท 7 เป็นการวัดทักษะการอ่านค่ะ วันนี้เราจะมาเจาะลึกข้อสอบพาร์ท 5 และ 6 กันนะคะ
โทอิคพาร์ท 5 และ 6 เป็นข้อสอบที่วัดไวยากรณ์ คำศัพท์ และทักษะการอ่านค่ะ พาร์ท 5 มี 30 ข้อ จะเป็นการให้เลือกช้อยส์ที่เหมาะสมที่สุดเติมในประโยค ส่วนพาร์ท 6 เป็นการเลือกคำศัพท์หรือประโยคเติมลงในบทความให้สมบูรณ์ มีทั้งหมด 4 บทความ บทความละ 4 ข้อ รวม 16 ข้อ ถ้างั้นเราไปดูวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบโทอิคพาร์ท 5 และ 6 กันเลยค่ะ
Tip เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 5 ให้ได้เต็ม !
1. ทำความคุ้นเคยกับรูปแบบของคำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อทำข้อสอบโทอิคพาร์ท 5 ได้คะแนนเยอะๆ เราต้องรู้คำศัพท์ที่ออกข้อสอบบ่อยๆค่ะ โดยเฉพาะพวกคำศัพท์ที่มีกฎการใช้จะช่วยทำข้อสอบได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้ว่าคำกริยาไหนที่ใช้กับ to+Infinitive Verb หรือคำกริยาไหนที่ต้องตามด้วย Gerund จะทำให้เลือกคำตอบได้ง่ายขึ้น สามารถเลือกคำตอบโดยดูแค่คำศัพท์หน้าหลังช่องว่าง ไม่ต้องอ่านทั้งประโยคค่ะ
2. ฝึกแก้โจทย์อย่างรวดเร็ว
ข้อสอบพาร์ทการอ่านมีทั้งหมด 100 ข้อ เวลาทำ 75 นาที ซึ่งเราควรต้องทำพาร์ท 5 ให้เสร็จภายในเวลา 15 นาทีค่ะ
เพื่อที่จะทำข้อสอบได้ภายในเวลาที่จำกัด เราต้องดูช้อยส์ แล้วรู้ก่อนว่าข้อสอบเป็นข้อวัดไวยากรณ์หรือคำศัพท์ ต่อไปเราจะมาดูวิธีแยกข้อสอบไวยากรณ์และข้อสอบคำศัพท์กันค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 5 – ข้อสอบ Grammar
นี่เป็นตัวอย่างข้อสอบวัดไวยากรณ์ในโทอิคพาร์ท 5 ค่ะ
ข้อสอบ Grammar ในโทอิคพาร์ท 5 จะเป็นการให้เลือกคำที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์จากทั้ง 4 ช้อยส์ลงในช่องว่าง จากตัวอย่างข้อนี้จะเห็นได้ว่าทุกช้อยส์คือคำว่า ‘assign (มอบหมาย)’ วิธีทำโจทย์ข้อนี้คือ เราไม่จำเป็นต้องแปลและทำความเข้าใจทั้งประโยคนะคะ แนะนำให้ดูคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่างก็พอ แล้วก็ดูโครงสร้างของประโยคค่ะ
ด้านหน้าของช่องว่างคือคำว่า ‘should’ ซึ่งเป็นคำกริยาช่วย ซึ่งตามหลัก Grammar แล้ว คำกริยาช่วยต้องตามด้วยคำกริยาแท้ที่ไม่ผัน เพราะฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องจึงเป็นข้อ (A) assign ค่ะ เห็นไหมคะว่าเราไม่ต้องเสียเวลาแปลทั้งประโยค เพียงแค่ดูคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่างก็ทำข้อสอบได้ค่ะ
ด้านหน้าของช่องว่างคือคำว่า ‘should’ ซึ่งเป็นคำกริยาช่วย ซึ่งตามหลัก Grammar แล้ว คำกริยาช่วยต้องตามด้วยคำกริยาแท้ที่ไม่ผัน เพราะฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องจึงเป็นข้อ (A) assign ค่ะ เห็นไหมคะว่าเราไม่ต้องเสียเวลาแปลทั้งประโยค เพียงแค่ดูคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่างก็ทำข้อสอบได้ค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 5 – ข้อสอบคำศัพท์
นี่คือตัวอย่างข้อสอบคำศัพท์ที่อยู่ในโทอิคพาร์ท 5 ค่ะ จะเห็นได้ว่าช้อยส์ทั้ง 4 ข้อเป็นคำศัพท์ที่ไม่เหมือนกันเลยค่ะ
สำหรับข้อสอบคำศัพท์ ให้เราดูคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่างก่อนเหมือนเดิมเลยนะคะ แล้วเลือกคำศัพท์ที่ความหมายเหมาะสมที่สุด และเช่นเดียวกัน ถ้าเราเห็นช้อยส์ไหนที่ไม่เข้าหรือไม่เกี่ยวข้องกับคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่าง ก็สามารถตัดข้อนั้นทิ้งได้เลยค่ะ ช้อยส์ (A) capable จะใช้ในรูป ‘be capable of (สามารถ~)’ ที่มีความหมายเหมือนกับ ‘be able to’ แต่ capable ไม่สามารถตามด้วย to เราก็ตัดข้อ (A) ทิ้งก่อนได้เลยค่ะ
เมื่อ 3 ช้อยส์ที่เหลือนี้เราไม่สามารถเลือกคำตอบได้จากการดูคำหน้าหลังช่องว่าง เราก็ต้องอ่านทั้งประโยคเพื่อดูบริบทค่ะ ความหมายของประโยคนี้คือ ‘การติดตั้งหน้าจอโปรเจกเตอร์ใหม่นี้ _______ แก่พนักงานทุกคน’ ความหมายของแต่ละช้อยส์คือ (B) financial ‘ทางการเงิน’, (C) beneficial ‘ที่เป็นประโยชน์’, (D) durable ‘ทนทาน’ เราตัดช้อยส์ที่ความหมายไม่เข้ากับบริบทได้เลย คำตอบที่ถูกต้องจึงเป็นข้อ C) ค่ะ
Tip เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 6 ให้ได้เต็ม !
มาดูเทคนิคการทำโทอิคพาร์ท 6 กันค่ะ
1. อย่ายึดติดกับการทำเรียงข้อ
ให้จำไว้ว่าสำหรับโทอิคพาร์ท 6 เราไม่จำเป็นต้องทำข้อสอบเรียงข้อนะคะ เราสามารถทำข้อที่เราทำได้ก่อน แล้วเก็บข้อที่ยากไว้ทำหลังสุดได้ค่ะ ยิ่งโทอิคพาร์ท 6 จะมีให้เลือกประโยคเติมในช่องว่าง ค่อนข้างยาก อาจใช้เวลาทำนานได้ เราสามารถเก็บไว้ทำเป็นข้อสุดท้ายได้นะคะ
2. ฝึกทักษะการอ่านแบบจับใจความ
ถ้าเราอยากได้คะแนนพาร์ท 6 เยอะๆ ทักษะการอ่านจับใจความจำเป็นมากๆค่ะ เนื่องจากเราต้องอ่านบทความที่มีช่องว่างตั้ง 4 จุด ก็เลยมีหลายคนคิดว่าพาร์ท 6 ยากกว่าพาร์ท 7 วันนี้เราจะมาดูกันว่าต้องทำอย่างไรให้ทักษะการอ่านจับใจความพัฒนาขึ้นกันค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 6 – ข้อสอบ Grammar
เหมือนกับเทคนิคการทำข้อสอบโทอิคพาร์ท 5 ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านะคะ ว่าเป็นการให้เลือกคำที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์จากทั้ง 4 ช้อยส์ลงในช่องว่าง ข้อที่ 1 กับข้อที่ 2 ของตัวอย่างข้อสอบด้านบนเป็นข้อสอบ Grammar ค่ะ เนื่องจากว่าเราสามารถได้คำตอบจากการดูเพียงคำหรือประโยคหน้าหลังช่องว่าง ก็ขอแนะนำให้ทำ 2 นี้ก่อนนะคะ
ประโยคแรกของบทความนี้บอกว่า “การประกวดร้องเพลงที่จะจัดวันที่ 20 มิถุนายน ณ Everette Park ถูกยกเลิก” แล้วตามด้วย “สมาคม_______ค่าลงทะเบียนแก้ผู้เข้าร่วม” จะเห็นว่าช้อยส์ทั้งหมดของข้อที่ 1 คือคำว่า ‘refund(คืนเงิน)’ ดูจากบริบทแล้วคำกริยานี้ควรอยู่ในรูปอนาคต คำตอบที่ถูกต้องจึงเป็นข้อ (C) will refund
ส่วนข้อ 2 ถ้าเราดูคำที่อยู่หน้าหลังช่องว่าง ก็จะรู้เลยว่าขาดคำกริยาไป ช้อยส์ที่เป็นคำกริยามีเพียงข้อ (C) predict ข้อนี้จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องค่ะ ถ้าเราใช้วิธีนี้แก้โจทย์ จะทำให้ใช้เวลาทำข้อสอบไม่นาน และจะสามารถทำข้อสอบได้ทันเวลาแน่นอนค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 6 – ข้อสอบคำศัพท์
ในข้อสอบคำศัพท์ ช้อยส์ทั้งหมดจะเป็นคำศัพท์ที่ไม่เหมือนกันเลย ข้อ 3 ของตัวอย่างข้อสอบนี้เป็นข้อสอบคำศัพท์ค่ะ ความหมายของประโยคที่มีช่องว่างข้อ 3 คือ “พายุมีแนวโน้มจะเบาลงภายใน 24 ชั่วโมง แต่ผู้จัดงานไม่อยาก _______ ความปลอดภัยของผู้คนที่เดินทางมางาน” เรามาไล่ดูความหมายของแต่ละช้อยส์กันค่ะ ‘risk เสี่ยง’, ‘speculate คาดเดา’, ‘assess ประเมิน’, ‘intimidate ขู่’ ช้อยส์ที่ความหมายเหมาะสมกับบริบทที่สุดคือข้อ (A) risk ค่ะ
ข้อสอบคำศัพท์ในโทอิคพาร์ท 6 นี้มีทั้งข้อที่เราสามารถอ่านเพียงประโยคที่มีช่องว่างแบบตัวอย่างข้อสอบข้อนี้ แล้วก็มีทั้งข้อยากที่เราต้องอ่านทั้งบทความด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราอ่านมาถึงช่องว่างแล้วยังไม่รู้คำตอบ อย่าไปเสียเวลากับแค่ประโยคที่มีช่องว่างนะคะ ให้เราลองอ่านจนจบบทความก่อน จะได้เข้าใจบริบททั้งหมดค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบพาร์ท 6 – ข้อสอบเติมประโยค
ในโทอิคพาร์ท 6 จะมีข้อสอบเติมประโยคด้วยค่ะ เหมือนข้อ 4 ของตัวอย่างข้อสอบนี้เลย ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจเนื้อหาของบทความทั้งหมด จึงจะเลือกคำตอบที่ถูกได้ค่ะ แนะนำให้เก็บข้อนี้ไว้ทำข้อสุดท้ายนะคะ เราลองมาดูความหมายของแต่ละช้อยส์กันเลยค่ะ
(A) The winner was a country music band. ผู้ชนะคือวงดนตรีพื้นบ้าน
(B) Updates will be released when a date is finalized. จะประกาศการอัพเดทเมื่อตัดสินใจวันที่เรียบร้อย
(C) The park has plenty of room for audience members. สวนสาธารณะมีห้องมากมายสำหรับผู้ชม
(D) Be sure to bring water-resistant clothing. ให้แน่ใจว่านำชุดที่กันน้ำมา
เนื้อหาของบทความคือ มีการยกเลิกงานประกวดร้องเพลง ประโยคด้านหน้าข้อ 4 บอกว่า “จะจัดเวลางานประกวดใหม่ในหน้าร้อนนี้ภายหลัง” ดังนั้นประโยคที่ให้ความหมายในทิศทางเดียวกันคือข้อ (B) ค่ะ
เทคนิคการทำข้อสอบโทอิคพาร์ท 5 และพาร์ท 6 ที่เรียนไปวันนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ? จำเทคนิคเหล่านี้ให้ดี แล้วฝึกทำข้อสอบเยอะๆนะคะ Santa ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้คะแนนโทอิคตามเป้าที่ตั้งไว้ค่ะ!
Santa เป็นโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี AI มาเพิ่มคะแนนโทอิคของทุกคนอย่างได้ผลจริง
ข้อสอบโทอิคอัพเดทล่าสุด วิดีโอเรียนฟรี รวมไปถึงวิธีการเรียนโทอิคที่เข้ากับคุณ ทั้งหมดนี้รวมครบในแอพ Santa เท่านั้น ลองเข้าไปดูได้เลย!